top of page
กรอบนโยบาย รมว.อว.

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

ได้มอบนโยบาย แนวคิดยุทธศาสตร์ในการดําเนินงานขับเคลื่อนกระทรวง โดยหนึ่งในนโยบายที่สําคัญคือการนําวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสู่การทํางานเชิงพื้นที่ ภายใต้ นโยบาย“ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันเพื่อพัฒนาจังหวัดด้วยอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)”

ดร.อเนก.jpg

การมอบนโนบายการดำเนินงานในพื้นที่

1). เพื่อให้เกิดการพัฒนาและแก้ปัญหาสามารถขับเคลื่อนไปได้โดยเร็ว ลดปัญหาอุปสรรค รวมทั้งใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

2). อว.ส่วนหน้า จะเป็น CDO (ChiefDevelopment Officer) ของจังหวัดโดยเน้นคณะทํางานระดับจังหวัดที่มีสถาบันการศึกษาเป็นหน่วยขับเคลื่อน โดยเชื่อมโยงโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตําบล”มุ่งเน้นระดับฐานราก เพื่อสร้างรากแก้วที่แข็งแรงให้ประเทศชาติ

- มุ่งเน้นการสร้างคน เพื่อเป็นกําลังของ อว.หรือ “อาสาสมัคร อว.”อว.ส่วนหน้า จะเป็น CDO ของจังหวัด โดย

เน้นคณะทํางานระดับจังหวัดที่มีสถาบันการศึกษาเป็นหน่วยขับเคลื่อน

- การดําเนินงานต้องตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ กำหนดเป้าหมายเป็นภาพใหญ่ระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค โดยเชื่อมโยงโครงการ“มหาวิทยาลัยสู่

ตำบล” มุ่งเน้นระดับฐานราก เพื่อสร้างรากแก้วที่แข็งแรงให้ประเทศชาติ

- มุ่งเน้นการสร้างคน เพื่อเป็นกําลังของ อว.หรือ “อาสาสมัคร อว.”

3). “อว. ส่วนหน้า” จะเป็นหน่วยประสานงานระหว่างจังหวัดกับมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและนําหลัก       ธรรมาภิบาลมาปรับใช้ เข้าไปดูแล กวดขัน ตรวจเยี่ยม ในระดับตําบลอําเภอ จะต้องรู้ข้อมูลจังหวัดในเบื้องลึก คิดตามยุทธศาสตร์จังหวัด พัฒนาสิ่งต่างๆ ด้วยนวัตกรรม และผสานเชื่อมโยงโครงการ“มหาวิทยาลัยสู่ตําบล” ให้เข้ากับนโยบาย“ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน”
4). “สิ่งที่จะต้องให้ความสําคัญในลําดับแรกของการทํางานจากนี้คือ การร่วมแก้ปัญหาจากวิกฤตโควิด–19ที่ อว. จะต้องช่วยเหลือผู้ว่างงาน คนตกงาน อย่างเป็นรูปธรรมและเร่งด่วนที่สุดและต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล”

unnamed.jpg

กลไกความเชื่อมโยงและการดำเนินงานนำองค์ความรู้ด้าน ววน. เพื่อพัฒนาพื้นที่

ตามยุทธศาสตร์ชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาล ได้กําหนดให้มีการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและการเสริมสร้าง ศักยภาพในการพัฒนาประเทศ โดยมีหน้าที่ กํากับ ติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่โดยเริ่มจากปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วทันเหตุการณ์และให้จังหวัดต่างๆ ยกเว้น กรุงเทพมหานคร โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ติดตาม รับฟัง และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนในจังหวัด และจัดให้มีการตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็ว

2. บูรณาการทํางานร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. สร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ให้เห็นความจําเป็นในการร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ สร้างความสามัคคีปรองดอง รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และความสําคัญของสถาบันหลักของชาติในฐานะศูนย์รวมจิตใจของประชาชน

4. ประสานการปฏิบัติและติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ

5.รายงานผลการดําเนินการให้กระทรวงมหาดไทยทราบเป็นระยะตามที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด

6. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดมอบหมาย โดยในการดําเนินการของคณะกรรมการดังกล่าว ให้คํานึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่ม จังหวัด ความเร่งด่วนของปัญหา ความต้องการของประชาชนและ ข้อเสนอแนะของสมาชิกรัฐสภา

จากนโยบายและคําสั่งของนายกรัฐมนตรี ดังกล่าวข้างต้น รมว.อว. ได้มีนโยบายในการนํางานด้าน อววน. ไปพัฒนาพื้นที่โดยบูรณาการงาน 3 ศาสตร์(วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) สู่การแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดในทุกมิติ อันจะนําไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเป็นสําคัญ โดยให้สถาบันการศึกษา ในพื้นที่และเป็นผู้แทนในคณะกรรมการ ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เป็น อว.ส่วนหน้า โดยได้กําหนดแนว ทางการดําเนินงานดังนี้

1) อว.ส่วนหน้า (Chief Development Officer: CDO ของจังหวัด) จะเป็นกลไก หลักในการขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ใน พื้นที่ โดยเน้นคณะทํางานระดับจังหวัดที่มี สถาบันการศึกษาในสังกัด อว. เป็นหน่วยขับเคลื่อนและ ประสานงานร่วมกับ คณะกรรมการ ขับเคลื่อนไทย ไปด้วยกัน ระดับจังหวัด 

2) การดําเนินงานต้องตอบโจทย์ ความต้องการในพื้นที่ โดยวิเคราะห์ข้อมูลยุทธศาสตร์จังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด อัตลักษณ์ของแต่ละ พื้นที่ และสภาพปัญหาความเดือดร้อน แล้วนําองค์ความรู้แบบบูรณาการศาสตร์ ทั้งด้าน อววน. รวมทั้งด้ามนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ไปร่วมบูรณาการ แก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริง 

3) กําหนดเป้าหมายเป็นภาพใหญ่ ระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค แต่การ ปฏิบัติให้มุ่งเน้นระดับฐานราก เช่น ระดับ ตําบล เพื่อสร้างรากแก้วที่แข็งแรงให้ ประเทศชาติ โดยเชื่อมโยงโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตําบล” เพื่อ แก้ปัญหาความยากจนอย่าง ยั่งยืน 

4) มุ่งเน้นการสร้างคนเช่น นักศึกษา ให้เป็น DataConnector ในพื้นที่ โดยให้มีความรู้เรื่อง Data Science เพื่อเป็นกําลังของ อว.หรือ “อาสาสมัคร อว.” ที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงบวก เป็นปึกแผ่น และช่วยกันทํางาน โดยแบ่งการบ่มเพาะเป็นSector ตามภารกิจหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ เน้นการสร้าง“วิศวกรสังคม” ซึ่งเป็นโครงการตามพระราโชบาย เป็นต้น

สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สป.อว.) ได้จัดทํากลไกความเชื่อมโยง    การดําเนินงาน อว. ส่วนหน้า เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ด้วย อววน. โดยมีความเชื่อมโยงในระดับต่างๆ ดังนี้

1.ระดับกระทรวง (National System)

2.ระดับการบริหารจัดการ (Administration System)

3.ระดับภูมิภาค (Regional System)

4.ระดับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่าย 4 (University network System)

ระดับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่าย (University network System) เพื่อขับเคลื่อนงานด้าน อววน. เพื่อการ พัฒนากลุ่มจังหวัด โดยจัดกลุ่มอิงตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่ม จังหวัด เข้าไว้ในภาคกลางเป็น 9 เครือข่าย ดังนี้ 

• เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน 

• เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง 

• เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 

• เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 

• เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน (รวมสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพฯ) 

• เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง (รวมสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพฯ) 

• เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก 

• เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน 

• เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง 

โดยเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่าย มีหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนงานด้าน อววน. เพื่อการพัฒนากลุ่มจังหวัด

• ประสานการขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ในพื้นที่ เครือข่ายอุดมศึกษา 

• สนับสนุนการดําเนินงานตามนโยบายและโครงการ ด้าน อววน. ในพื้นที่เครือข่ายอุดมศึกษา 

• กํากับ ติดตาม รวบรวมและรายงานการดําเนินงาน พัฒนาพื้นที่ด้วย อววน.

5.ระดับจังหวัด (University System

6.ระดับชุมชน (Community System)

bottom of page